หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

 สรุปบทความ


บทความเรื่อง : ทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


ทักษะการสังเกต

การสังเกต (Observation) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์ โดยมีจุดประสงค์ที่จะหาข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไป

ทักษะการจำแนกประเภท

การจำแนกประภท (Classifying) หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์ (Criteria) หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น เกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภทของสิ่งของมีอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน (Similarities) ความแตกต่าง (Differences) และความสัมพันธ์ร่วม  

ทักษะการวัด

การวัด (Measurement) หมายถึง การใช้เครื่องมือต่าง ๆ วัดหาปริมาณของสิ่งที่เราต้องการทราบได้อย่างถูกต้อง โดยมีหน่วยการวัดกำกับอยู่เสมอ

ทักษะการสื่อความหมาย

การสื่อความหมาย (Cummunication) หมายถึง การพูด การเขียน รูปภาพ และภาษาท่าทาง การแสดงสีหน้า ความสามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจน ตลอดจนการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึก ก็จัดว่าเป็นการสื่อความหมายด้วย 

ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล

การลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring) หมายถึง การเพิ่มเติมความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย ข้อมูลนี้อาจได้จากการสังเกต การวัดหรือการทดลอง การลงความเห็นจากข้อมูลต่างกับการทำนายในแง่ที่ว่า การลงความเห็นจากข้อมูลไม่บอกเหตุการณ์ในอนาคต เป็นเพียงแต่อธิบายความหมายจากข้อมูล โดยอาศัยความรู้และประสบการณ์เดิมมาช่วย

ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา

สเปส หรือมิติ (Space) ของวัตถุใด ๆ หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุนั้นครองที่ ซึ่งจะมีรูปร่างเหมือนวัตถุนั้น เช่น สเปสของแผ่นกระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก็คือ เนื้อที่ซึ่งกระดาษแผ่นนี้ทับอยู่ ซึ่งจะมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเท่ากับแผ่นที่ทับอยู่ สเปสอาจมี 2 มิติ คือ กว้างและยาว หรืออาจมี 3 มิติ คือ กว้าง ยาว และสูง ก็ได้ 

ทักษะการคำนวณ

การคำนวณ หมายความถึงความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ การบวก ลบ คูณ หาร การหาค่าเฉลี่ยต่าง ๆ และการคำนวณที่ซับซ้อนเช่น การคำนวณหาปริมาณต่าง ๆ และรวมไปถึงการคำนวณโดยใช้สูตรตั้งแต่ง่าย ๆ ไปจนถึงขั้นซับซ้อนขึ้นตามลำดับ


บทสรุป

จากที่กล่าวมาแล้วสรุปได้ว่า การกระตุ้นให้เด็กปฐมวัยได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั้น ควรจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการขั้นพื้นฐาน หรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนา มี 7 กระบวนการ ดังนี้ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็น ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา และทักษะการคำนวณ



 

 

 

 



สรุปวิจัย

       สรุปวิจัยเรื่อง :  ผลการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการที่มีต่อความสามารถ ด้านการสังเกตการจำแนกและการเปรียบเทยีบของเด็กปฐมวัย  

      โดย : ยุพา ศิริรักษ์

      พ.ศ. 2558

       มหาวทิยาลยัราชภฏันครสวรรค์


วัตถุประสงค์ของการวิจัย

ในการวิจัยคร้ังน้ีมีวัตถุประสงค์

1.เพื่อศึกษาจำนวนของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดระสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ มีคะแนนความสามารถด้านการสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ของ คะแนนเต็ม

2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการสังเกตการจำแนกและการเปรียบเทียบก่อน จัดประสบการณ์การเรียนรู้และหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจดัประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ


   ความสามารถด้านการสังเกต หมายถึง ความสามารถของเด็กปฐมวัย ที่สามารถรับรู้ และ การมองเห็นของสิ่งของสองสิ่ง ในด้านขนาดและรูปร่าง


   ความสามารถด้านการจาแนก หมายถึง ความสามารถของเด็กปฐมวัยในการจัดแบ่งพวก เรียงลำดับวัตถุสิ่งของที่มีอยู่ใหเ้ป็นหมวดหมู่โดยมีเกณฑ์ในการจัดแบ่งเกณฑ์ดังกล่าวอาจจะใช้ ความเหมือนความแตกต่างหรือความสัมพันธ์
   ความสามารถด้านการเปรียบเทียบ หมายถึง ความสามารถของเด็กปฐมวัยในการมองเห็น ความแตกต่างของขนาด รูปร่าง จานวนท่ีมากกว่าเท่ากันและน้อยกว่าของวตัถุและสิ่งต่างๆ
ประโยชน์ทคี่าดว่าจะได้รับ

การวิจัยคร้ังน้ี ผู้วิจัยคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการวิจยั ดังน้ี

1. ได้ดผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ สาหรับใช้จัดกิจกรรมการเรียน การสอนเด็กปฐมวัย

2. ได้พัฒนาความสามารถด้านการสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบของเด็กปฐมวัยโดยการจัดระสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ

3. เป็นแนวทางสำหรับครูและผู้สนใจในการนำวิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ โครงการมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการสังเกต การจำแนก และ การเปรียบเทียบของเด็กปฐมวัยรวมทั้งส่งเสริมทักษะด้านนอื่น  ต่อไป


วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

                                                                   


                                                                     บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

เวลา 08:30 - 12:30 น


เนื้อหา
           
           คุณครูต้องเริ่มจากคำถามของเด็กๆ ครูมีหน้าที่ให้คำตอบ จดบันทึกจากคำพูดของเด็ก
                1.ครูพูดคุยเรื่องชีวิตประจำวันของเด็กๆ   ครูต้องการที่จะกระตุ้นในการทำกิจกรรม
                2.อุปกรณ์  จะเป็นตัวอย่าง คือ การกระตุ้นให้เด็กสงสัยอยากรู้ ครูควรที่จะซ้อนไว้ในกล่องแล้วนำออกมาทีละชิ้นพร้อมกับแนะนำชื่ออุปกรณ์
                3.การนำเข้ากิจกรรม โดยใช้คำถาม และถามเด็กว่ามีใครอยากช่วยคุณครูบ้างคะ
                4.เริ่มกิจกรรม ในแต่ละขั้นควรให้เด็กสังเกต ว่าเห็นอะไรบ้าง ทุกๆการตอบของเด็กครูควรที่จะสนองคำตอบของเด็ก ด้วยการชมว่าเก่งมาก
                5.ขั้นสรุป ครูต้องถามความว่า ทำอะไรบ้าง เห็นอะไรบ้าง สรุปข้อเท็จจริง คือการสังเกตเห็นอะไรจากผลที่ทำ
                6.การบูรณาการ ด้านภาษากับคณิตศาสตร์สอดแทรกเข้าไป

      จากนั้นอาจารย์ให้แบ่งกลุ่มและเลือกกลุ่มละ 1หน่วย กลุ่มดิฉันเลือกหน่วยไข่

 


วันจันทร์ สอนเรื่อง ชนิดของไข่

วันอังคาร สอนเรื่อง ลักษณะของไข่

          วันพุธ สอนเรื่อง  การดูแลรักษาไข่

          วันพฤหัสบดี สอนเรื่อง  ประโยชน์ของไข่

          วันศุกร์ สอนเรื่อง โทษของไข่


 การทดลอง ไข่ไดโนเสาร์


คำศัพย์ภาษาอังกฤษ

     1.egg ไข่

  2.experiment การทดลอง

  3.food coloring สีผสมอาหาร

  4.dinosaur ไดโนเสาร์

  5.blame โทษ 


การประเมิน

  ประเมินอาจารย์ อาจารย์พูดชัดเจน สอนละเอียดเข้าใจง่ายเปิดโอกาศให้ถาม

    ประเมินเพื่อน ตั้งใจฟังสนทนาโต้ตอบ

    ประเมินตนเอง ตั้งใจฟัง และถามตอบกับอาจารย์

 

 


                       



วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

สื่อเพื่อพัฒนาลูกรัก 

             

          เอกสารส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยสาหรับผู้ปกกครอง

         สวสัดีค่ะท่านผู้ปกครองพวกเรามีเทคนิคการพฒันาทกัษะทางสติปัญญาด้านนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จากการประดษิฐ์ผ่านแนวคิด สะเต็มด้วยนิทานการทดลองเรื่อง "กระต่ายตื่นตูม" ซึ่งในนิทานเราสามารถนา แนวคิดจากกิจกรรมสะเต็มมาทาที่บา้นได้โดยกจิกรรมนี้จะเกี่ยวเรื่องแรงต้านอากาศผู้ปกครองสามารถทาตาม ได้ง่ายๆ โดยทากิจกรรมร่มชูชีพ และวสัดุอุปกรณ์ที่ใช้ก็สามารถหาได้ง่ายๆ โดยจะมี ถุงพลาสติก ด้ายหรือเชือก ใช้ตุ๊กตาตัวเล็กๆหรือดินน้ามันแทนได้ผู้ปกกครองสามารถให้ลูกน้อยของท่านไดทำร่มชูชีพของตนเองได้ กิจกรรมนี้จะช่วยให้ลูกน้อยของท่านได้มีทักษะในการคิด การแกไ้ขปัญหา และยังนำทักษะเหล่านี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วยค่ะ


กิจกรรมการทดลองเรื่อง “กระต่ายตื่นตูม”

       กระต่ายตวัหนึ่งนอนหลับอยู่ใต้ต้นตาลขณะที่นอนหลับอยู่นั้นเกิดพายุใหญ่ทำให้ลูกตาลหล่นลงที่พื้นดิน กระต่ายตกใจตื่ขึ้นคิดว่าฟ้าถล่ม ไม่ทันได้ไตร่ตรอง รีบลุกขึ้นไปบอกสัตว์ตัวอื่นว่า

“ฟ้าถล่ม”

  


 สัตว์นั้นไม่ทันคิดพากันนวิ่งตามกระต่ายไปหกล้มแข้งขาหักชนต้นไม้ตกเหวตายบ้างก็มี จนกระทั้งมาพบ พญาราชสีห์ตัวหนึ่ง ราชสีห์ร้องถามว่า "พวกท่านวิ่ง หนีอะไรมา”



กระต่ายจึงเล่าเรื่องให้ราชสีห์ฟัง ราชสีห์จึงถามต่อไปว่า “ฟ้าถล่มที่ตรงไหน จงพาเราไปดูที” 

พอไปถึงใต้ต้นตาลราชสีห์เห็นลูกตาลตกอยู่ที่โคนต้นก็เข้าใจว่าลูกตาลตกลงบนใบตาลแห้ง จึงเกิดเสียงจนทำให้เจ้ากระต่ายคิดว่าแผ่นดินถล่ม

 


คุยกับลูก “ถา้หนูเป็นกระต่ายหนูจะตื่นตูมตกใจเหมือนกระต่ายหรือไม่เพราะอะไร”

บทสรุป

“เด็กๆเห็นหรือว่าถา้ หากเราไม่มีสติ เชื่อคนง่ายก็จะให้ท้้งตัวเราเองและผู้อื่นเดือดร้อน ดังนั้นอย่าตกใจโวยวายหรือเชื่อข่าวลือจากผอูื่นโดยไม่พิจารณาให้รอบครอบเสียก่อน”

เล่นกับลูก

ให้เด็กๆทาการทดลองที่เกี่ยวขอ้งกบัแรงอากาศ

วัสดุอุปกรณ์

1. ถุงพลาสติก

2. เชือกหรือด้าย

3. ตุ๊กตาตัวเล็กๆหรือดินน้ำมัน

4. กรรไกร

5. ไมบ้รรทัด



มีขั้นตอนให้ผู้ปกครอง ดังนี้

- ตัดถุงพลาสติกให้มีขนาด 30x30 เซนติเมตร

  


- จากนั้นนำเชือกมามัดทั้ง4มุมของถุงพลาสติก



- ปลายเชือกอีกด้านมัดเข้ากับตุ๊กตา



- ปล่อยร่มชูชีพจากที่สูง



ผลการทดลอง

ร่มชูชีพ มีแรงต้านอากาศทาให้คนและของค่อยๆตกลงสู่พื้นแบบไม่เร็วกันคนจะได้ไม่บาดเจ็บหรือเสียชีวิตและ ของจะได้ไม่ชารุดเสียหาย


วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563




 บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2563

เวลา 08:30 - 12:30 น


เนื้อหา

               อาจารย์แจกกระดาษ 2ชิ้น เพื่อให้ประดิษฐ์ของเล่นเกี่ยวกับ อากาศ ฉันทำกังหันโดยใช้แรงหมุนจากมือ




              จากนั้นอาจารย์ได้แจกกระดาษอ่อน และคลิปหนีบกระดาษคนละ1ตัว ให้นักศึกษาทุกคนทำลูกยางจากกระดาษที่แจกให้ และลองโยนขึ้นฟ้า จากนั้นดูว่าลูกยางของลอยอยู่ในอากาสได้นานกว่ากัน






        กิจกรรมสุดท้ายอาจารย์ ให้นำน้ำใส่ถาด และให้ปั้นดินน้ำมันเป็นก้อนกลมๆใส่ในถาด ปรากฎว่าดินน้ำมันจม และสุดท้ายให้ทำอย่างไรก็ได้ให้ดินน้ำมันลอยอยู่บนผิวน้ำได้ ฉันจึงทำให้ดินน้ำมันแบนๆ และยกด้านข้างขึ้นสูงเพื่อไม่ให้น้ำเข้าไป จึงทำให้ดินน้ำมันลอยได้


คำศัพย์ภาษาอังกฤษ
  1.plasticine ดินน้ำมัน
 2.float ลอย
 3.sink  จม
 4.rotate หมุน
 5.force แรง

การประเมิน
 อาจารย์ อาจารย์สอนละเอียดเข้าใจง่าย แนะนำให้ปรับแก้จุดที่พลาด
 เพื่อน ตั้งใจฟัง และทำกิจกรรมอย่างเต็มที่
 ตนเอง ตั้งใจฟังและปรับแก้ชิ้นงานตามคำแนะนำของอาจารย์