หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2563

 

                                                                  

                                                                 บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563

เวลา 08:30 - 12:30 น.


เนื้อหาที่เรียน

    การจัดการเรียนการสอนให้กับเด็ก สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ

1.เรื่องที่เด็กสนใจ

2.สิ่งที่ใกล้ตัวเด็ก

3.สิ่งที่มีผลกระทบกับตัวเด็ก

    ความหมายของพํฒนาการ คือ ความสามารถของเด็กที่แสดงออกแต่ละช่วงวัย

    ลักษณะของพัฒนาการ คือ เป็นการเปลี่ยนแปลงตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง แต่ละขั้นมีความสำคัญเพราะจะเชื่อมโยงไปขั้นต่อไป

เพียเจย์

     อายุ 0-2 ปี รับรู้และเคลื่อนไหว เป็นขั้นที่เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตาดู หูฟัง ลิ้นชิมรส กายสสัมผัส จมูกดมกลิ่น(คือการทำงานของสมอง)

     อายุ 2-4 ปี การพูดเป็นคำๆ ภาษา มีเหตุผลบ้าง

     อายุ 4-7 ปี พูดเป็นประโยค มีเหตผลมากขึ้น 

 เนื้อหา ต้องเลือกให้เหมาะสมกับพัฒนาการ


นิยามของการเล่น ให้เด็กได้ลงมือกระทำกับวัตถุโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เพื่อเลือกและตัดสินใจอย่างมีคามสุข

การเล่น เป็น วิธีการทำให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้


คำศัพย์ภาษาอังกฤษ

    1.reasonable มีเหตผล

   2.appropriate เหมาะสม

   3.decide ตัดสินใจ

   4.select เลือก

   5.method วิธีการฺบายละเอียดเข้าใจง่าย

การประเมิน

ประเมินอาจารย์ อาจารย์พุดชัดเจน สอนละเอียดเข้าใจง่ายเปิดโอกาศให้ถาม

ประเมินเพื่อน ตั้งใจฟังสนทนาโต้ตอบ

ประเมินตนเอง ตั้งใจฟัง และถามตอบกับอาจารย์



วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563


 

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2563

เวลา 08:30 - 12:30 น.


เนื้อหา


วิทยาศาสตร์ คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้เเละทำความเข้าใจรอบตัวเเละตัวตนของตนเอง


   ความพยายามเช่นนี้ติดตัวของมนุษย์ตั่งแต่เเรกเกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติรอบตัวของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็นช่างสังเกตเเละคอยชักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ


   การทำความเข้าใจสิ่งรอบตัวเเละตัวตนของตนเองโดยการสังเกตเเละคอยชักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาเจอช่วยเชื่อมโยงของสมองของเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็กๆ เพราะสงเสริมให้เด็กคิดและเป็นการเตรียมการเรียนรู้ได้มากขึ้น


การจัดประสบการณ์ คือ การจัดกิจกรรม และการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในห้องเรียนโดยให้ได้รับประสบการณ์ตรงจากการเล่น การลงมือปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี และเพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้ครบทั้ง ด้าน คือ ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา

 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ต้องคำนึงถึง 3 สิ่ง

     1. เรื่องที่เด็กสนใจ
     2. สิ่งที่ใกล้ตัวเด็ก
     3. เหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก

หลักสูตรวิทยาศาสตร์
    1. ตัวฉัน
    2. บุคคล เเละ สถานที่
    3. คนรอบตัว
    4. ธรรมชาติ สิ่งเเวดล้อมรอบตัว

ความหมายของพัฒนาการ 
     คือ ความสามารถที่เเสดงออกมาเเต่ละช่วงอายุ

ลักษณะของพัฒนาการ
     คือ การเปลี่ยยนเเปลงเป็นขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง เปรียบเสมือน ขั้นบันได
พัฒนาการเเต่ละขั้น จะต้องมั่นคง เพราะ จะมีผลต่อขั้นต่อๆไป

การเล่น 
     คือ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลงมือกระทำกับวัสดุ เพื่อเลือกเเละตัดสินใจ  อย่างมีความสุข


ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ (Piaget)

4-7 ปี เริ่มเรียนรู้คำพูด ภาษา มีเหตุเเละผลมากขึ้นกลายเป็นขั้นอนุรักษ์ เราจะรู้ได้ต่อเมื่อ เด็กใช้เหตุผลในการตอบ

       ขั้น 1 ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) อายุ 2 ปีหลังเเรกเกิด

        ขั้น 2 ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage)   ขั้นนี้จะอยู่ในช่วง 2-7 ปี ในระยะ 2-4 ปี เด็กยังยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง มีขีดจำกัดในการรับรู้ สามารถเข้าใจได้เพียงมิติเดียว ในระยะ 5-6 ปี เด็กจะย่างเข้าสู่ขั้น Intuitive Thought ระยะนี้เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการคิด ที่ขึ้นอยู่กับการรับรู้กับการคิดอย่างมีเหตุผลตามความจริง

     ขั้น 3 ปฏิบัติการคิดด้วยรูปธรรม (Concrete Operational Stage) ขั้นนี้ เริ่มจากอายุ 7-11 ปี เด็กจะมีความสามารถคิดเหตุผลและผลที่เกี่ยวข้องกับปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่ยึดอยู่เฉพาะการรับรู้เหมือนขั้นก่อน ๆ ในขั้นนี้เด็กจะสามารถคิดย้อนกลับ (Reversibility) สามารถเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์ (Conservation) สามารถจัดกลุ่มหรือประเภทของสิ่งของ (Classification) และสามารถจัดเรียงลำดับของสิ่งต่าง ๆ (Seriation) ได้ 

    ขั้น 4 ปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) ตั้งแต่อายุ 11 ปี จนถึงวัยผู้ใหญ่เป็นช่วงที่เด็กจะสามารถคิดไม่เพียงแต่ในสิ่งที่เห็นหรือได้ยินโดยตรงเหมือนระยะก่อน ๆ อีกต่อไป แต่จะสามารถจินตนาการเงื่อนไขของปัญหาในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต โดยพัฒนาสมมติฐานอย่างสมเหตุสมผลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งก็หมายถึงว่า ในระยะนี้เด็กจะมีความสามารถคิดหาเหตุผลเหมือนผู้ใหญ่นั่นเอง 
    

คำศัพย์ภาษาอังกฤษ

1. thinking skill ทักษะการคิด
2. age  อายุ
3. step ขั้นตอน
4. order ลำดับ
5. concrete รูปธรรม

ประเมิน
ประเมินอาจารย์  อาจารย์อธิบายเข้าใจง่าย อย่างละเอียดเปิดโอกาสให้ซักถาม
ประเมินเพื่อน    เพื่อนๆตั้งใจฟังร่วมสนทนาถามตอบ
ประเมินตนเอง  ตั้งใจเรียน  ตอบคำถาม มีส่วนร่วม



วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563



 บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2563

เวลา 08:30 - 12:30 น.

เนื้อหาที่เรียน

      อาจารย์ให้ทำงานกลุ่ม จับกลุ่ม 5 คน ทำงานในหัวข้อเรื่อง การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  ให้นักศึกษาอะธิบายพร้อมเหตุผลเมื่อ  นึกถึงเด็กปฐมวัย นึกถึงการจัดประสบการณ์ นึกถึงวิทยาศาสตร์  นึกถึงอะไรใน 3 หัวข้อนี้  

1. นึกถึงเด็กปฐมวัย 
1.1 นึกถึง การอบรบเลี้ยงดู เพราะว่าสิ่งเเวดล้อมรอบตัวเด็กเเต่ละคนมีความเเตกต่างกัน
1.2 นึกถึง พัฒนาการ  เพราะเด็กมีการเปลี่ยนเเปลงพัฒนาการทั้ง 4 อย่างเป็นลำดับขั้น  
1.3 นึกถึงการเล่น เพราะ เด็กเล่นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้

2. นึกถึงการจัดประสบการณ์
2.1  นึกถึง การจัดกิจกรรม เพราะเด้กได้ลงมือปฏิบัติเเละลงมือด้วยตนเอง
2.2 นึกถึง  สื่อ เนื่องจากสื่อเป็นตัวกลางในการให้เกิดการเรียนรู้กับเด็ก 
2.3 นึกถึง ทักษะทั้ง 4 ด้านของเด็ก เพราะป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาบุคคลทุกช่วงวัย

3. นึกถึงวิทยาศาสตร์
3.1 นึกถึง การทดลอง จะทำให้เด็กอยากที่จะเรียนรู้เกิดการอยากทำอยากทดลอง
3.2 นึกถึง การสังเกต เด็กจะได้ใช้การสัมผัสทั้ง 5 ด้วยการสังเกต ตาดู มองเห็น ปากชิมรส จมูกดมกลิ่น หูได้ฟังเเละได้

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 

        กิจกรรมวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่จัดประสบการณ์โดยให้เด็กเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริงและผู้ปกครองสามารถนำมาเชื่อมโยงกับเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เรื่องเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัว สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็กได้ วิทยาศาสตร์จะเน้นให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ส่งเสริมให้เด็กเป็นคนช่างสำรวจ สืบเสาะ ค้นหา คิดวิเคราะห์ ในสิ่งต่าง ๆ ที่สนใจ ฝึกให้เด็กสามารถอธิบายและหาข้อสรุปในการทดลองต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเด็กเอง เพื่อสร้างความเข้าใจในวิทยาศาสตร์ให้เด็กมากขึ้น


คำศัพท์
1. Change   การเปลี่ยนเเปลง
2. Practice  ปฏิบัติ
3. Observe  สังเกต
4. Study      เรียนรู้
5. Learning process กระบวนการเรียนรู้

ประเมิน
ประเมินอาจารย์ -  อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมอย่างละเอียด c]t.shนักศึกษาทำงานกลุ่มเพื่อให้นักศึกษารู้จักการวางเเผน
ประเมินเพื่อน  - เพื่อนตั้งใจทำงานกลุ่มช่วยเหลือกัน 
ประเมินตนเอง - ตั้งใจทำงานอย่างดี    และช่วยเหลือเพื่อน




บันทึกครั้งที่1



บันทึกอนุทินครั้งที่ 1

วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2563

เวลา 08:30 - 12:30 น.


🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑 🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑 🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑



       🍑🍑 เนื้อหา

   ในสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แรกของการเรียนรายวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เนื่องจากเป็นสัปดาห์แรกอาจารย์ได้พูดคุยเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะต้องเรียน ภาระงานต่างๆ และมอบหมายงานดังนี้


          🍑บทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

          🍑 วิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

          🍑 ตัวอย่างการสอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


จากนั้นอาจารย์ได้จัดกิจกรรมถามตอบ โดยคำถามมีอยู่ว่า ถ้านึกถึงสื่อที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนักศึกษานึกถึงสื่ออะไร ซึ่งมีสื่อมากมายหลายชนิดที่เพื่อนๆเลือกตอบ เช่น นิทาน จิ๊กซอว์ โมเดล ฯลฯ หลังจากจบกิจกรรม  จากนั้นอาจารย์ให้  ทำมายแมพเรื่องวิทยาศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับอะไร

🍑🍑 คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

          1. The seasons = ฤดูกาล

          2. The experiment = การทดลอง

          3. Life = สิ่งมีชีวิต

          4. Environment = สิ่งมีชีวิต

🍑🍑ประเมิน

          ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีการอธิบายเนื้อหาและทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่เนื้อหาการเรียนอย่างเข้าใจ

          ประเมินเพื่อน : ตั้งใจฟังและทำกิจกรรม ถามเมื่อไม่เข้าใจ

          ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ ตอบคำถาม


🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑 🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑 🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑